ติดแบล็คลิส กี่ปีถึงจะหมดอายุความ ?
ความร้อนใจอย่างหนึ่งของคนที่ติดแบล็คลิส ก็คือว่า หากเราติดแบล็คลิสกี่ปีหมดอายุความ หรือแบล็คลิสติดกี่ปีเพราะการที่เรามีรายชื่อผู้ติดแบล็คลิส อาจจะทำให้เราไม่สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ไหม ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการติดแบล็คลิส คืออะไร โดยการติดแบล็คลิสคือ สถานะที่ผู้กู้ยืมธุรกรรมใดๆ ก็แล้วแต่และไม่ทำการชำระตามระยะเวลาที่กำหนดและเมื่อมีการทวงหรือส่งใบแจ้งหนี้แล้วยังไม่ไปชำระให้ตรงเวลา ทางสถาบันการเงินก็จะดำเนินการขึ้นสถานะบุคคลนั้นๆ ให้เป็นบุคคลที่ “ติดแบล็คลิส” และจะไม่สามารถกู้เงินหรือขอสินเชื่อได้อีก แล้วหากเราติดแบล็คลิสกี่ปีหมดอายุความ ข้อมูลจาก บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติหรือที่เรารู้จักกันว่า เครดิตบูโร จะมีการจัดเก็บข้อมูลทางการเงินและประวัติการทำธุรกรรมชำระหนี้ไว้ไม่เกิน 3 ปี หมายความว่า ถ้าเราชำระหนี้หมดแล้ว สถานะบัญชีจะเปลี่ยนเป็นปิดบัญชี และจะแสดงข้อมูลอยู่ในเครดิตบูโรไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้รับรายงานข้อมูลการปิดบัญชี และเมื่อครบ 3 ปีแล้ว บัญชีบัตรเครดิตดังกล่าก็จะถูกลบออกไปจากฐานข้อมูลเครดิตบูโรอัตโนมัติ เพราะการติดแบล็คลิสนั้นทางธนาคารจะไม่อนุมัติสินเชื่อหรือบัตรเครดิตให้ได้ ซึ่งบางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินอาจจะพิจารณาการขอสินเชื่อของคุณหลังจากครบ 3 ปีนับจากวันที่คุณปิดบัญชีหนี้ถึงจะสามารถยื่นทำสินเชื่อหรือบัตรเครดิตใหม่ได้ ถือเป็นข้อควรรู้ที่สำคัญอย่างมากเพื่อป้องกันให้คุณกลายเป็นรายชื่อผู้ติดแบล็คลิส เพราะหากคุณติดแบล็คลิสแล้ว การจะทำธุรกรรมทางการเงินก็จะยากไปซะหมด
แล้วถ้าติดแบล็คลิส จะแก้อย่างไร
การติดแบล็คลิสคงเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะอาจจะส่งผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินในอนาคตหากเราต้องการขอสินเชื่อกับทาธนาคารหรือขอสินเชื่อบัตรเครดิต ฉะนั้น หากใครที่ติดแบล็คลิส จะสามารถแก้อย่างไร วันนี้จึงขอแนะนำทางออกคนติดแบล็คลิสว่า เมื่อติดแบล็คลิสแล้ว ควรจะแก้อย่างไร
1.สรุปรายการหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมด
2.เจรจากับสถาบันทางการเงินในการขอเพิ่มระยะเวลาในการชำระหนี้
3.พิจารณาทรัพย์สินบางอย่างที่สามารถขายได้
4.ห้ามให้มีการติดแบล็คลิสเป็นครั้งที่ 2
5.รีบเคลียร์หนี้ให้จบและหยุดสร้างหนี้เพิ่ม
6.ตรวจสอบข้อมูลเครดิต
7.พยายามรักษาข้อมูลเครดิตหรือประวัติชำระหนี้ทางการเงินของตัวเองเอาไว้
ซึ่งข้อแนะนำทั้ง 7 ข้อสำหรับคนที่ติดแบล็คลิสจะช่วยให้คนที่มีรายชื่อผู้ติดแบล็คลิสสามารถทราบช่องทางในการที่จะหลุดพ้นจากสถานะติดแบล็คลิสได้ไวขึ้นและเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นบุคคลติดแบล็คลิส เพราะการที่มีประวัติติดแบล็คลิส แสดงให้เห็นถึงการขาดความน่าเชื่อถือและมีโอกาสสูงหากอนุมัติสินเชื่อแล้วจะไม่ได้คืน
ติดแบล็คลิส เช็คอย่างไรและจะขอสินเชื่อได้ไหม
หลายคนคงไม่ทราบว่าตัวเองนั้นติดแบล็คลิสหรือเป็นผู้ที่มีรายชื่อผู้ติดแบล็คลิส เพราะไม่ทราบวิธีตรวจสอบว่าตอนนี้เรามีสถานะเป็นคนที่ติดแบล็คลิสหรือไม่ มารู้อีกทีก็คือตอนที่ทางธนาคารปฏิเสธอนุมัติสินเชื่อเพราะเช็คแบล็คลิสแล้วเรามีประวัติแบล็คลิสไปแล้ว ฉะนั้น การที่เราทราบวิธีตรวจสอบแบล็คลิสหรือเช็คแบล็คลิสว่าเราเป็นคนติดแบล็คลิสหรือไม่ เพราะหากเราไม่เช็คว่าติดแบล็คลิสไหม อาจจะส่งผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินในอนาคต ซึ่งวิธีตรวจสอบแบล็คลิสหรือเช็คว่าเรามีประวัติติดแบล็คลิส เราสามารถเช็คแบล็คลิสฟรีได้หลากหลายวิธี ดังนี้
1.ยื่นคำขอผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทยและธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งจะจัดส่งรายงานผ่านทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนภายใน 7 วัน
2.ยื่นคำขอผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Baking) ของธนาคารกรุงไทยและธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งจะจัดส่งรายงานผ่านทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนภายใน 7 วัน
3.ยื่นคำขอผ่านช่องทางออนไลน์ (Internet Banking) ของธนาคารกรุงงศรีอยุธยา ซึ่งจะจัดส่งรายงานผ่านไปรษณีย์แบบลงทะเบียนภายใน 7 วัน
และหากเราติดแบล็คลิสก็ไม่ต้องตกใจไปว่าหากตรวจสอบแบล็คลิสแล้วเราเป็นคนมีประวัติติดแบล็คลิสแล้วกลัวว่าจะขอสินเชื่อได้ไหม ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีสินเชื่อมากมาย รวมถึงสินเชื่อเงินกู้ออนไลน์ที่ไม่เช็คแบล็คลิส ซึ่งอนุมัติวงเงินเป็นเงินก้อนให้เราไปใช้ในการเพิ่มสภาพคล่องการเงินภายในครอบครัวของเรา และที่สำคัญหากเรามีวินัยในการชำระหนี้ได้ครบถ้วน ก็สามารถล้างประวัติติดแบล็คลิสทางการเงินของเราเมื่อผ่านไป 3 ปี แต่อย่างไรก็ตาม การที่เรามีวินัยในการชำระหนี้ ไม่มีการผิดชำระหนี้และไม่มีประวัติติดแบล็คลิสเป็นเรื่องที่ดี เพราะการขอสินเชื่อก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป