ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปี 2566 ไว้เพื่อลดผลกระทบจากโควิด-19
ใครที่กำลังต้องการเงินกู้ธนาคารหรือทำเรื่องขอเงินกู้ธนาคารต่างๆ ในการซื้อบ้าน ซื้อคอนโดหรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่างๆในช่วงนี้ที่กำลังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ 2563 จนถึงปี 2566 รวมถึงการที่เกิดภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงมากขึ้นในข่วงปี 2566 ทั้งจากเรื่องของราคาพลังงานและอาหารแต่ละประเภท ที่มีความเสี่ยงจะเพิ่มราคาสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน ได้ลงมติเห็นควรว่าให้คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ รวมถึงการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV) เป็นการชั่วคราว โดยกำหนดไว้ ดังนี้
1.กำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV ratio) เป็นร้อย 100 ซึ่งหมายความว่า เราสามารถกู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน
2.ผ่อนคลายนี้ให้เป็นการชั่วคราว ซึ่งจะส่งผลสำหรับคนที่ทำสัญญาเงินกู้ธนาคารที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 – 31 ธันวาคม 2566
โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของปี 2566 นี้ ทางสถาบันการเงินมีมาตรฐานการเงินให้สินเชื่อที่รัดกุมโดยให้คำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ในระยะยาวเป็นหลัก เพราะอย่างที่เราทราบว่ากันว่า เศรษฐกิจของไทยังมีแนวโน้มที่มีการฟื้นตัวช้า ทั้งนี้ ทาง ธปท. และคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน ยังมีการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันทางการเงินและความสามารถของประชาชนในการยื่นขอเงินกู้ธนาคารเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ในราคาที่เหมาะสม
ใครที่อยากมีบ้าน อย่าพลาด! อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 2566 ของแต่ละธนาคารเป็นอย่างไร
ก่อนจะไปดูว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของแต่ละธนาคารเป็นอย่างไรหากเราต้องการกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เรามาทำความเข้าใจกันว่า อัตราดอกเบี้ยเงินหรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ คืออะไร หากเราจะอธิบายกันง่ายๆ ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ คืออะไร ซึ่งดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ผู้กู้ต้องจ่ายเมื่อกู้เงินหรือเป็นสิ่งที่ผ้ากได้รับเมื่อฝากเงิน เช่น ถ้าเราฝากเงิน 100 บาทที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุด 1% ต่อปี เมื่อผ่านไป 1 ปี เราก็จะมีเงินเพิ่มเป็น 101 บาท แล้วถ้าเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ละ จะส่งผลอย่างไรต่อประชาชน ซึ่งถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับลดลง เราก็จะมีแนวโน้มที่จะต้องการกู้เงินเพิ่มขึ้นเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ถูกลง และหากเราเป็นผู้กู้เงินธนาคาร ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกปรับลงด้วย การคิดดอกเบี้ยเงินกู้ก็ลดลง ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายก็ลดลงด้วย ทั้งนี้ เรามาดูกันว่าถ้าเราต้องการกู้เงินหรือยื่นขอเงินกู้ธนาคารประเภทเพื่อซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้หรือดอกเบี้ยธนาคารแต่ละธนาคารเป็นอย่างไร มีการคิดอย่างไรหรือดอกเบี้ยธนาคารไหนคิดดอกเบี้ยสูงสุดหรือต่ำสุด อย่างไร ดังนี้
1.ธนาคาร ธอส. : คำนวณดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 1.99% ให้วงเงินกู้สูงสุด 1.2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 40 ปี
2.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา : คิดดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 3.52% ให้วงเงินกู้สูงสุด 85% ระยะเวลากู้ 30 ปี
3.ธนาคารกรุงไทย : คิดดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 3.00% วงเงินกู้ธนาคารสูงสุด 100% ระยะเวลากู้ 40 ปี
4.ธนาคารกรุงเทพ : คำนวณดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย3ปี อยู่ 4.47% วงเงินกู้ธนาคารสูงสุด 70-100% ระยะเวลากู้ 35 ปี
5.ธนาคารออมสิน : คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด มอบวงเงินกู้ธนาคารสูงสุด 110% ระยะเวลากู้ 40 ปี
6.ธนาคารกสิกรไทย : คำนวณดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 7.72% คิดดอกเบี้ยเงินกู้ 90% ระยะเวลากู้ 30 ปี
7.ธนาคารไทยพาณิชย์ : คิดดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 5.95% คิดดอกเบี้ยเงินกู้ 100% ระยะเวลากู้ 30 ปี
จะเช็คอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ยากไหม ตรวจสอบออนไลน์ได้หรือไม่
ดอกเบี้ยเงินกู้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ สำหรับใครก็ตามที่ต้องการกู้เงินหรือยื่นขอเงินกู้ธนาคาร เพราะโดยปกติแล้วแต่ละธนาคารจะมีการกำหนดดอกเบี้ยธนาคารหรือคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ให้ผู้กู้ชำระเงินต้นพร้อมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยจะมีเป็นตารางชำระตั้งแต่วันทำสัญญาว่าแต่ละงวดต้องจ่ายเท่าไหร่ โดยธนาคารจะทำการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้โดยใช้ตัวเลข MLR แบบสมมติสำหรับงวดในอนาคต ทั้งนี้ ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ หากคุณอยากจะทราบว่าดอกเบี้ยธนาคารแต่ละธนาคารมีการเช็คหรือคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ว่าแต่ละงวดว่าเราจะต้องจ่ายเท่าไหร่และความสามารถในการผ่อนชำระของเราว่าไหวหรือไม่ ซึ่งเราสามารถใช้บริการเครื่องคำนวณอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้โดยสามารถค้นหาออนไลน์ได้ หรือสามารถเช็คดอกเบี้ยเงินกู้ออนไลน์และตรวจสอบดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทเงินกู้ธนาคารเพื่อซื้อบ้านได้ที่ www.krungsri.com/th/calculator ซึ่งจะช่วยให้เราทราบวิธีคิดดอกเบี้ยต่อเดือนว่าเราจะต้องจ่ายเท่าไหร่ ซึ่งจะช่วยให้เรานั้นสามารถวางแผนการเงินได้อย่างปลอดภัย